เดินกะลา



เดินกะลา
 
     เดินกะลา  เป็นตัวอย่างหนึ่งของเล่นพื้นบ้านไทยกลุ่มจุดศูนย์ถ่วง มีชื่อเรียกต่างๆกันไป ในแต่ละพื้นที่ เช่น กาสิก ไม้ย่างกางเกง อีโก๊ะ อีกับ ก๊อบแก๊บ ม้ากะลา เนื่องจากเสียงที่ได้ยินระหว่างเดินและวิ่ง
   การละเล่นเ ดินกะลา เด็กรุ่นก่อนๆ จะชอบเล่นเดินกะลามาก เพราะกะลาหาง่ายมีอยู่ทั่วไป การเดินบนกะลานั้น ผู้ที่เริ่มฝึกจะรู้สึกเจ็บฝ่าเท้า เพราะความโค้งมนและความแข็งของกะลา แต่ถ้าได้ฝึกบ่อยๆ อาการเจ็บก็จะหายไป ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเท้าแข็งแรงขึ้นและยังเป็นการนวดฝ่าเท้าไปในตัวด้วย
       นอกจากนี้ผู้เล่นจะฝึกในเรื่องของการทรงตัว ซึ่งจะทำให้เรียนรู้เรื่องของความสมดุลไปในตัวอีกด้วย คนที่รักษาสมดุลของร่างได้ดีก็จะทรงตัวได้ดีและมักจะถึงเส้นชัยก่อน นอกจากนี้ถ้าเล่นเดินจนเบื่อแล้วก็ยังสามารถเอามาเล่นเป็นโทรศัพท์พูดแล้วได้ยินเสียงกันได้ กะลาสามารถเรียนรู้เรื่องของเสียงได้อีกด้วย
อุปกรณ์การเล่น มีเพียง
-กะลามะพร้าวแก่ ๒ ซีก (ด้านมีรู)
- เชือก ๑ เส้น ยาวประมาณ ๑.๕๐ – ๒.๐๐ เมตร
ขั้นตอนการทำ
- ผ่ากะลาครึ่งซีก แล้วเจาะรูที่ก้นกะลา
- นำเชือกมาร้อยผ่านรูกะลาอันหนึ่ง
- มัดเป็นปมขั้นรูกะลา
- ทำอีกข้างหนึ่งเช่นเดียวกัน เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
วิธีการเล่น
ให้ขีดเส้นชัย โดยห่างจากเส้นเริ่มต้น 3 เมตรหรือ 5 เมตรหรือตามแต่จะตกลงกันเอง ผู้เล่นจะต้องขึ้นไปยืนบนกะลาที่คว่ำลงทั้งสองซีก ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบหนีบเชือกไว้ มือจับเชือกดึงให้ถนัด เริ่มเล่นโดยการให้ทุกคนเดินจากเส้นเริ่มต้นแข่งขันกัน ใครที่ถึงเส้นชัยก่อนก็ชนะ หรือถ้าไม่เล่นแบบแข่งขันกัน ก็ใช้เล่นเดินในสวน หรือที่สนามก็ได้ สามารถใช้เป็นการออกกำลังกาย ก็เป็นการเล่นที่สนุกอีกแบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น